ทันตกรรมจัดฟัน
ทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontic)
การจัดฟันเป็นทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียงตัวของฟัน โดยการรักษาให้ฟันเรียงตัวดี มีการสบฟันที่ปกติ เนื่องจากพื้นที่เรียงอย่างไม่เป็นระเบียบนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อรูปหน้า ประสิทธิภาพและการบดเคี้ยว รวมถึงความสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดฟัน ดังนั้นการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการจัดฟันให้มีระบบบดเคี้ยวที่ดีมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความสวยงามของฟัน และใบหน้าภายหลังการรักษา ซึ่งมีวิธีการจัดฟันแบบต่าง ๆ ดังนี้
การจัดฟันแบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. การจัดฟันแบบติดแน่น มี 2 ชนิด แบ่งตามชนิดวัสดุ
1.1 วัสดุโลหะธรรมดา (Metal Braces)1.2 วัสดุเซรามิกใส (Ceramic Braces)
2. การจัดฟันแบบดาม่อน (Damon System) มี 2 ชนิด แบ่งตามชนิดวัสดุ
1.1 ดาม่อน Q1.2 ดาม่อนเคลียร์
การจัดฟันแบบดาม่อน (Damon System) คืออะไร?
มาทำความรู้จักการจัดฟันแบบดาม่อนหรือ Damon System นวัตกรรมการจัดฟันแบบใหม่ที่ช่วยลดเวลาพร้อมผลลัพธ์ที่เห็นผล ทำให้คุณได้รอยยิ้มสวยสดใสได้ทันใจกว่าเดิม
การจัดฟันแบบตาม่อน (Damon System) คือการจัดฟันแบบใหม่ ที่ใช้กลไกการสไลด์เพื่อจับลวดจัดฟันทำให้เกิดแรงเสียดทานน้อย และใช้แรงในการยึดเพียงเล็กน้อยกับตัวฟัน เราจึงไม่รู้สึกเจ็บขณะที่คุณหมอทำการเคลื่อนฟันให้เรา และถูกออกแบบเพื่อให้เข้ากับใบหน้าของแต่ละคนด้วย จึงทำให้เราได้ฟันที่เหมาะกับฟัน และปากของเรา และการทำความสะอาดก็ง่ายมาก ๆ เพราะไม่มียางที่ยึดติดกับตัวฟัน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของคราบพลัส สาเหตุของหินปูนแถมยังช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟันได้ดีมาก
ขั้นตอนการจัดฟันแบบดามอน
1. ปรึกษาหมอจัดฟัน
2. พิมพ์ปาก X-ray ถ่ายรูปเพื่อวินิจฉัยการรักษาแต่ละกรณี
3. ฟังแผนการรักษาติดเครื่องมือจัดฟัน Damon System
4. เช็คเครื่องมือดามอนทุก 12 เดือนโดยทันตแพทย์เพื่อเคลื่อนฟันตามขั้นตอนจนเสร็จการรักษา
5. ใส่ Retainer คงสภาพฟันหลังจัดฟัน
1. ฟันเคลื่อนที่เข้ารูปเรียงตัวได้เร็ว การจัดฟันวิธีนี้สามารถช่วยลดระยะเวลาในการรักษาจากเดิมเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีของตัวแบร็คเก็ต จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลามาพบทันตแพทย์บ่อย ๆ (2 เดือน/ครั้ง)
2. ให้ความรู้สึกสบายเจ็บน้อยกว่าจัดฟันแบบปกติ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนฟันโดยใช้แรงเบาเมื่อเทียบกับการจัดทั่วไปแบบนี้จะช่วยให้เกิดความสบายกว่ามาก
3. พบทันตแพทย์น้อยครั้งลง ไม่ต้องมาพบทันตแพทย์บ่อย ๆ ทุก ๆ สัปดาห์ ลดเหลือเป็นนัดเดือนละครั้ง หรือสองเดือนต่อครั้ง
4. ให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนฟันอย่างมาก
5. ให้รอยยิ้มและโครงหน้าสวยงาม เพราะไม่ปรับและดึงโครงหน้าจนเกินไป
6. รักษาความสะอาดได้ง่าย ลดโอกาสการเกิดฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ
7. ลดโอกาสการถอนฟัน เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ทันตแพทย์สามารถใช้วิธีการขยายพื้นที่การเรียงตัวของฟันออกไปได้ ทำให้โอกาสในการถอนฟันเพื่อหาช่องว่างมีน้อยลง
1. หลีกเลี่ยง ของแข็ง ของเหนียว
2. ควรแปลงฟันหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย
- ดาม่อน Q (โลหะ) 60,000 - 65,000 บาท
- ดาม่อนใส (Damon Clear) 75,000 บาท
3. การจัดฟันแบบใส (Clear Aligner)
Clear Aligner
เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีฟันหน้า (บริเวณฟันกระต่ายถึงฟันเขี้ยว) บิด ยื่น หลุบ ห่าง ซ้อน เก เล็กน้อย หรือ ผู้ที่เคยจัดฟันมาแล้วแต่ยังต้องการแก้ไขเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน แล้วเกิดฟันหน้าเคลื่อนออกนอกแนว และต้องการแก้ไข
ขั้นตอนการจัดฟันแบบ Clear AlignerStep 1 นัดปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตรวจฟันและวางแผนการรักษา,ถ่ายภาพ X-ray เพื่อประกอบการวางแผนการรักษา
Step 2 ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟัน เพื่อนำแบบพิมพ์ฟันไปวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้ง จากนั้นจึงทำการออกแบบ และผลิตเป็นอุปกรณ์จัดฟันแบบใสถอดได้เฉพาะบุคคล (Tray) เพื่อขยับฟัน โดยการพิมพ์ฟัน 1 ครั้ง ต่อการผลิต 1 tray ใช้ในการขยับฟัน (เคสแต่ละเคสจะใช้จำนวนtrayไม่เท่ากันทันตแพทย์จะประเมินและแจ้งให้ทราบก่อนเริ่มทำการรักษา)
Step 3 ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายให้ท่านมาพบ เพื่อใส่ tray ชุดที่1 เพื่อเริ่มเคลื่อนฟัน
Step 4 ทำการพิมพ์ฟันอีกครั้ง ทุก 2 อาทิตย์ เพื่อนำไปออกแบบ และผลิต Tray ชุดต่อไปเพื่อใส่เคลื่อนฟันต่อเนื่อง จนครบตามจำนวนชิ้นที่ประเมินไว้ตั้งแต่ต้นเพื่อให้การจัดฟันบรรลุตามแผนการรักษา
Step 5 เมื่อสิ้นสุดการรักษา คุณจะได้รอยยิ้มใหม่ ที่สวย สร้างเสริมบุคลิกภาพ ให้คุณยิ้มกว้างๆได้อย่างมั่นใจ ในเวลารวดเร็ว
Step 6 ท่านต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainer) อย่างเคร่งครัด
ข้อดีทำความสะอาดฟันได้ง่าย เพราะการไม่มีเหล็กจัดฟันจะทำให้เศษอาหารติดฟันน้อยกว่า,เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากน้อยกว่าเพราะไม่ต้องทนกับเหล็กจัดฟันทิ่มปาก, มีความสวยงามเวลายิ้มหรือพูดคุย ไม่เห็นเหล็กโชว์, การจัดฟันด้วยวิธีนี้เหมาะกับคนไข้ทุกวัย ถ้าเป็นเด็กต้องให้มีฟันแท้ขึ้นครบและเต็มซี่ก่อน
ข้อจำกัดอาศัยความร่วมมือสูง ต้องมีระเบียบวินัยในการใส่แผ่นใสตลอด เพราะถ้าไม่ใส่จะทำให้ผลการจัดฟันไม่มีประสิทธิภาพดังต้องการ
การดูแลรักษาสำหรับผู้ที่จัดฟันแบบใส
1. ควรดื่มแต่น้ำเปล่า ไม่ควรดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลขณะใส่แผ่นใสอยู่ เพราะน้ำตาล และคราบน้ำชา กาแฟ จะสัมผัสกับฟันนานกว่าเดิม ทำให้ฟันผุง่ายขึ้น
2. ควรถอดออกเวลาทานอาหาร แล้วแปรงฟันให้สะอาดก่อนใส่ทุกครั้ง
3. ทำความสะอาดแผ่นใสด้วยน้ำสบู่ ไม่ใช้ยาสีฟัน เพราะจะทำให้แผ่นใสมีรอยขุ่น
4. มาพบทันตแพทย์จัดฟันตามที่นัด เพื่อเช็กสภาพแผ่นใสและการเคลื่อนของฟัน ขูดหินปูนและทำความสะอาดฟันทุก 3-6 เดือน
2,000 บาท / 1 ชิ้น (จำนวนชิ้นขึ้นอยู่กับการขยับฟันของคนไข้แต่ละเคส)
สะพานฟัน ครอบฟัน ฟันปลอม
ครอบฟัน (Crown)
คือ ฟันเทียมติดแน่นที่ใช้ทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไป หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน อาจทำจากโลหะล้วนทั้งซี่ เซรามิคล้วน หรือทั้งโลหะและเซรามิคเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม
สะพานฟัน (Bridge)
คือ ครอบฟันที่เชื่อมต่อกันเพื่อทดแทนฟันที่หายไป 1 ซี่ หรือมากกว่า ฟันปลอมติดแน่นไม่ต้องถอดเข้า-ออก พูดง่าย ๆ ว่าติดถาวรเหมือนฟันธรรมชาติเลย และหน้าตาของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ๆ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกปลอมให้เกะกะ วิธีการ คือคุณหมอจะกรอฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่ถูกถอนไปแล้วเพื่อใช้เป็นหลักยึดสะพานฟัน
ฟันปลอม (Denture)
ฟันปลอม เป็นการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยจะสามารถถอดเข้า-ออกช่องปากได้ โดยทั่วไปฐานฟันปลอมสามารถทำได้ด้วยพลาสติก และโลหะ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เข้ารับบริการ
ชนิดของครอบฟัน
1. ครอบฟันโลหะล้วน (Full Metal Crown: FMC)
ครอบฟันโลหะล้วนทำจากโลหะหลายชนิด เช่น ทองทองคำขาว พัลเลเดียม นิเกิล-โครเมียม มีความแข็งแรงสูงแต่ความสวยงามต่ำทำให้ฟันคู่สบสึกได้น้อยกว่าและกรอแต่งฟันน้อยกว่า เมื่อเทียบกับครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิคส่วนมากมักใช้ในฟันหลังมากกว่าฟันหน้า
2. ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค (Porcelain-fused-to-metal crown: PFM)
ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิคโดยใช้ข้อดีของโลหะนำมาทำเป็นโครงเพื่อให้ความแข็งแรงและเซรามิคที่ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ สวยงาม
3. ครอบฟันเซรามิคล้วน (All-ceramic crown: ACC)
ครอบฟันเซรามิคล้วนทำจากเซรามิคที่มีความแข็งแรง มีความใสและสวยงามเป็นธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้ในฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม หรือคนไข้ที่มีอาการแพ้โลหะ ครอบฟันเซรามิคล้วนทำจากเซรามิคทั้งหมด และไม่สามารถใช้ได้กับคนไข้ที่นอนกัดฟัน หรือมีนิสัยใช้ฟันหน้ากัดแทะของแข็ง คนไข้ที่มีฟันหน้าสบคร่อมกันลึก
ข้อดีการบูรณะด้วยครอบฟัน
1. ครอบฟันเซรามิคล้วน หรือครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิคสามารถแก้ไข้รูปร่างและสีฟัน ให้มีความสวยงามได้
2. ครอบฟัน สามารถช่วยป้องกันการแตกหักของฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ ของฟันที่รักษารากฟันแล้ว หรือฟันที่มีวัสดุบูรณะขนาดใหญ่ได้
3. ครอบฟัน มีความคงทนถาวรมากกว่าวัสดุอุดฟันโดยทั่วไป
ข้อจำกัด
การทำครอบฟันนั้นจำเป็นต้องรอเนื้อฟันออกปริมาณมากกว่าการอุดฟัน
ขั้นตอนการทำครอบฟันและสะพานฟัน
ครั้งที่ 1 ทันตแพทย์จะทำการตรวจการสบฟันสภาพเหงือกและเอกซ์เรย์
ครั้งที่ 2 วางแผนการรักษาและทำการกรอแต่งฟันภายใต้ยาชาเฉพาะที่หลังจากนั้นจึงพิมพ์ปากทำครอบฟันชนิดที่คนไข้เลือกใช้ คนไข้จะเลือกสีฟันที่เหมาะสมร่วมกับทันตแพทย์ (ในครั้งนี้จะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้เพื่อรองรับแรงบดเคี้ยวระหว่างรอใส่ครอบฟันถาวร)
ครั้งที่ 3 อีกประมาณ 7 วัน ทันตแพทย์จะนัดหมายคนไข้มาทำการลองครอบฟันถาวรอาจมีการกรอแต่งเล็กน้อยเพื่อให้ครอบฟันลงได้พอดี
*ทันตแพทย์จะทำการเช็คการสบฟัน ขอบเหงือก รอยต่อระหว่างขอบของครอบฟัน และผิวเคลือบฟันบริเวณสัมผัสระหว่างครอบฟันและฟันธรรมชาติ สีของครอบฟัน*
หลังจากนั้น จะทำการยึดครอบฟันโดยใช้กาวยึดทางทันตกรรม
ครั้งที่ 4 ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายคนไข้กลับมาเช็คอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ อนามัยช่องปาก หลังจากนั้นก็ทำการนัดหมายเพื่อให้คนไข้กลับมาตรวจเช็คทุก 6 เดือน
การดูแลรักษาครอบฟัน
ภายหลังจากที่คนไข้ได้รับการใส่ครอบฟันที่ดี ครอบฟันนั้นก็จะอยู่กับคนไข้ไปตลอด การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติซึ่งก็ คือ การแปรงฟันให้ถูกวิธี การใช้ไหมขัดฟัน และการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือน สำหรับฟันธรรมชาติที่ไม่ได้รักษารากฟันมาก่อนหรือในฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ หรือมีวัสดุขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รื้อออกหมดภายหลังจากการทำครอบฟัน อาจจะเกิดการอักเสบขึ้นที่โพรงประสาทฟันได้ ดังนั้น หากพบความผิดปกติควรกลับไปพบทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยเร็ว
ค่าบริการ
ครอบฟัน/สะพานฟัน: เซรามิคล้วน 10,000 – 15,000 / 1-5 ครั้ง
ครอบฟัน/สะพานฟัน: ไม่มีส่วนผสมของทอง 7,000 – 8,000 / 1-5 ครั้ง
ครอบฟัน/สะพานฟัน: ทองผสม 50% 12,000 – 15,000 / 1-5 ครั้ง
ครอบฟัน/สะพานฟัน: ทองผสม 80% 15,000 – 18,000 / 1-5 ครั้ง
การรักษาโรคเหงือก
โรคปริทันต์หรือที่เรียกว่าโรคเหงือก ซึ่งโดยทั่วไปมักจะหมายถึงโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ
วิธีการรักษาประกอบด้วย :
การเกลารากฟัน และขูดหินปูน
การเกลารากฟันและขูดหินปูน เป็นวิธีการเบื้องต้นในรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ
การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
การผ่าตัดเพื่อตกแต่งเหงือกที่คลุมตัวฟัน โดยทั่วไปมักทำเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่รอยยิ้ม
การศัลยกรรมเหงือกเพื่อปรับความยาวของฟัน
การผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน โดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟันหรือเคลือบผิวฟันเพื่อความสวยงาม
การศัลยกรรมเพิ่มเหงือก(แก้ปัญหาเหงือกร่น)
การปลูกถ่ายเหงือกเป็นวิธีการแก้ปัญหาเหงือกร่น โดยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณและความหนาของเหงือกในบริเวณที่เกิดการเหงือกร่น
การปลูกถ่ายกระดูก
การปลูกถ่ายกระดูกเป็นวิธีการแก้ปัญหาการมีปริมาณของกระดูกขากรรไกรที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอ เช่น ในกรณีของการปลูกรากฟันเทียมไททาเนียม หรือ ปัญหาการมีรูปหน้าที่ผิดปกติ เป็นต้
ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, อุดฟันปิดช่องว่าง
ทันตกรรมเพื่อความสวยงามและสมดุลขอลใบหน้า เป็นการช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี สร้างรอยยิ้มให้เกิดความมั่นใจ ด้วยบริการทางทันตกรรมต่างๆ อาทิเช่น การฟอกสีฟัน การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ได้แก่ เซรามิก หรือเรซิน การทำครอบฟัน ด้วยครอบชนิดเซรามิก การทำเคลือบฟันเซรามิกหรือที่เรียกว่าเซรามิก วีเนียร์ เพื่อปิดช่องห่างบริเวณฟันหน้า หรือ เปลี่ยนสีหน้าฟันที่คล้ำ ให้มีสีขาวดูเป็นธรรมชาติ เป็นต้น
Inlays และ Onlays
Inlays และ Onlays เป็นการใช้ชิ้นเซรามิกในการอุดฟันที่มีรูผุขนาดใหญ่เกินกว่าที่ทำการอุดตามธรรมดา แต่ขนาดที่ผุไม่ใหญ่เกินไปจึงไม่มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการครอบฟัน
การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน
การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน ในปัจจุบันการเปลี่ยนวัสดุอุดฟันเก่าที่ใช้อมัลกัมที่มีสีเทาเงิน ด้วยการใช้วัสดุเรซินสีเหมือนฟันนั้น ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากมีสีทีสวยงามเหมือนฟันตามธรรมชาติ ช่วยบูรณะฟันให้มีความสวยงามดังเดิมโดยไม่สามารถสังเกตุเห็นการอุดฟันได้
ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์
วีเนียร์ (Veneer)
วีเนียร์ (Veneer) เป็นฟันปลอมชนิดหนึ่งเช่นกันแต่มีความแตกต่าง ตรงที่วีเนียร์นั้นไม่ได้ครอบทั้งฟัน แต่จะเป็นการนำวัสดุที่มีหน้าตาคล้ายฟันมาเคลือบหรือแปะที่หน้าฟัน โดยวีเนียร์นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาความสวยงามของฟัน และช่วยป้องกันการทำร้ายของผิวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถช่วยให้คนที่มีฟันห่าง, ฟันเล็ก, ฟันบิ่น, ฟันเกเล็กน้อย, ฟันที่มีสีไม่เสมอกัน หรือฟันเหลืองมากๆ ก็สามารถกลับมาสวยงามได้ โดยวัสดุของการทำวีเนียร์
การทำวีเนียร์สามารถแบ่งออกได้กว้างๆ 2 ประเภท
1. การเคลือบฟันเทียมที่ทำโดยตรงในช่องปาก
เป็นการใช้วัสดุอุดฟัน เช่น คอมโพสิตเรซิน (Composite Resin) ที่สีใกล้เคียงกับฟันจริงด้วยสารยึดติดลงไปตรง ๆ กับฟันจริง เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของฟันจริง ไม่จำเป็นต้องกรอฟันมากนัก แต่ใช้เวลาทำนาน
2. การเคลือบฟันเทียมที่ทำนอกช่องปาก
ทันตแพทย์จะกรอผิวฟันเดิมออก พิมพ์ปาก เลือกสีฟันที่ต้องการ แล้วนำไปผ่านกระบวนการในห้องแล็ป ด้วยวัสดุประเภทพอร์ซเลน ระหว่างพิมพ์ฟันในห้องแล็ปแพทย์จะใส่ผิวฟันชั่วคราวให้ก่อน เมื่อฟันที่พิมพ์ในห้องแล็ปเสร็จเรียบร้อยจึงนำผิวฟันชั่วคราวออก แล้วใส่ผิวฟันจากพอร์ซเลนให้ สีฟันที่ได้จะมีความเป็นธรรมชาติ และฟันจะมีความคงทนของสีมากกว่า
ข้อจำกัดของวีเนียร์
1. ก่อนทำวีเนียร์ต้องรักษาโรคต่าง ๆ ในช่องปากให้หายเป็นปกติดีเสียก่อน เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นต้น
2. วีเนียร์มีโอกาสแตกหัก หรือหลุดจากการดูแลไม่ดี หรือกัดของแข็ง ของเหนียว
คุณประโยชน์ของการทำวีเนียร์ (Veneer)
1. วีเนียร์(Veneer) มีความทนทานและยากต่อการติดคราบสีที่เกิดจากเครื่องดื่ม อาหาร และบุหรี่
2. ไม่สามารถผุได้เหมือนฟันธรรมชาติ
3. ช่วยเพิ่มความมั่นใจและความสวยงามแก่ฟันและรอยยิ้มของผู้รับบริการ
4. วัสดุที่ใช้ทำวีเนียร์เป็นวัสดุที่มีลักษณะและความใสเหมือนฟันธรรมชาติ
5. สามารถช่วยปิดช่องว่างระหว่างฟันในกรณีฟันห่าง
6. สามารถช่วยปรับแต่งรูปร่างของฟันให้มีความสวยงามขึ้น
7. ช่วยซ่อมแซมรูปร่างของฟันที่สึกกร่อนและถูกทำลาย
8. สามารถปกปิดสีฟันที่ผิดปกติหรือไม่สวยได้
วิธีการดูแลรักษาหลังทำวีเนียร์
1. หลังจากทำวีเนียร์(Veneer) คนไข้ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกฟันซี่ที่ได้รับการทำวีเนียร์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือก
2. ควรใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน หากเป็นไปได้บ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที หลังจากนั้นไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารใน 30 นาที
3. หลังจากทำวีเนียร์ ควรหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง
4. พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน อย่างสม่ำเสมอ
ค่าใช้จ่าย
วีเนียร์แบบ Composite 3,000-4,000 บาท/ซี่
วีเนียร์แบบ Pocelain 12,000-15,000 บาท/ซี่
ฟอกสีฟันด้วย Zoom (Teeth Whitening)
การฟอกสีฟันคืออะไร
การฟอกสีฟัน เป็นการใช้น้ำยาฟอกสีฟัน คือ ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หรือ คาร์บาไมด์ เพอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) ไปทำปฏิกิริยากับสารที่มีภายในฟัน ทำให้สีที่สะสมอยู่บนผิวฟันและในเนื้อฟันแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ จึงทำให้ฟันขาวสว่างขึ้น โดยไม่มีผลต่อเคลือบฟันและโครงสร้างของฟันตามธรรมชาติ การฟอกสีฟันมี 2 วิธีคือ การฟอกสีฟันแบบทำด้วยตนเองที่บ้าน และการฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ที่คลินิก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์
1. การฟอกสีฟันแบบทำด้วยตนเองที่บ้าน (Home bleaching)
คนไข้จะได้รับน้ำยาฟอกสีฟันความเข้มข้นต่ำ และถาดฟอกสีฟันเฉพาะบุคคล (Tray) นำกลับไปฟอกสีฟันเองที่บ้าน โดยหลังจากตรวจสภาพฟันและประเมินสีฟันของคนไข้ว่าพร้อมสำหรับการฟอกสีฟันแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากคนไข้เพื่อสร้างแบบจำลองฟันและนำมาทำถาดฟอกสีฟัน โดยทำการบันทึกสีของฟันก่อนการรักษา เมื่อถาดฟอกสีฟันได้มีการปรับแต่งให้มีความพอดีกับช่องปากของคนไข้แล้ว ทันตแพทย์จะสอนวิธีการใช้ชุดฟอกสีฟันและวิธีการดูแลรักษาความสะอาด และให้คนไข้นำชุดฟอกสีฟันกลับไปทำเองที่บ้าน
โดยให้คนไข้ใส่ถาดฟอกสีฟันวันละประมาณ 4 ชั่วโมง หรือใส่ตลอดทั้งคืนขณะนอนหลับ ระหว่างใส่ถาดฟอกสีฟันมีข้อห้ามคือ งดรับประทานอาหารทุกชนิด ในระหว่างการฟอกสีฟัน คนไข้อาจมีอาการเสียวฟัน มีอาการระคายเคืองเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เหงือก เป็นต้น ทันตแพทย์จึงมีการนัดมาติดตามผลเป็นระยะเพื่อดูผลของการฟอกสีฟัน และดูแลแก้ไขอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การฟอกสีฟันแบบทำด้วยตนเองที่บ้านภายใต้การควบคุมของทันตแพทย์ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ สีของฟันจะค่อย ๆ ขาวสว่างขึ้น
2. การฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ที่คลินิก (In-office bleaching)
ZOOM เป็นทางเลือกหนึ่งของการฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ในคลินิก คือเทคโนโลยีฟอกฟันขาวใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เป็นการฟอกสีฟันโดยใช้แสงสีฟ้า (Blue Light) ซึ่งเป็นแสง LED ชนิดเข้มข้น เร่งปฏิกิริยาในการฟอกสีฟัน เพื่อกระตุ้นการทำงานของน้ำยาฟอกสีฟัน ให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสีที่ติดอยู่บนผิวฟันและในเนื้อฟันได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ทำลายเคลือบฟัน ไม่กัดกร่อนเนื้อฟัน และโครงสร้างของฟันตามธรรมชาติ ใช้ระยะเวลาในการฟอกสีฟัน 45-60 นาที สามารถปรับระดับเฉดสีฟันให้ขาวขึ้นได้ 3-8 เฉดสี เป็นวิธีการฟอกสีฟันที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังจากฟอกสีฟันอาจมีอาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้ ซึ่งในแต่ละคนเป็นไม่เท่ากัน โดยอาการดังกล่าวจะเป็นอยู่ชั่วคราว จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและหายไปได้เอง ใช้ระยะเวลาประมาณ 24 ชม.
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการฟอกสีฟัน
หลังจากการฟอกสีฟันแล้วควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ โดยแปรงฟันให้ถูกวิธีทุกครั้งหลังอาหาร การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมไนเตรตจะช่วยลดอาการเสียวฟัน ใช้ไหมขัดฟันช่วยในการทำความสะอาดฟัน บ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอน งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม เช่น ชา กาแฟ ไวน์แดง น้ำอัดลม ลูกอม แกงที่มีสีต่างๆ ฯลฯ โดยเฉพาะ 7 วันแรกหลังฟอกสีฟัน
เนื่องจากก่อให้เกิดคราบสีบนผิวฟัน ทำให้ฟันดูคล้ำลงได้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสีเข้มได้ ควรใช้หลอดดูดแทนการดื่มจากแก้วโดยตรง สีฟันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นขึ้นกับการดูแลตนเองหลังทำ หากคนไข้ดูแลฟันเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้สีฟันคงอยู่ได้นานประมาณ 1-2 ปี โดยทันตแพทย์จะแนะนำให้มีการทำซ้ำเป็นระยะ (touch up) ทุกปี เพื่อให้สีฟันที่ขาวขึ้นแล้ว อยู่ได้คงทนถาวรและยาวนานขึ้น
ค่าบริการ
1. การฟอกสีฟันแบบทำด้วยตนเองที่บ้าน (Home bleaching) 4,000 บาท
2. การฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ที่คลินิก (In-office bleaching) 9,000 บาท
ทันตกรรมรากฟันเทียม (Dental Implant)
รากฟันเทียม
เป็นวิทยาการใหม่ที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ สูญเสียฟันไป เป็นการทดแทนฟันที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด โดยการใช้รากเทียมที่ทำจาก โลหะไททาเนียม (Titanium) ซึ่งได้รับการออกแบบและวิจัยอย่างยาวนานรองรับว่าไม่มีอันตราย และเข้ากันได้ดีต่อเนื้อเยื่อมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีความแข็งแรงคงทน สามารถรับแรงบดเคี้ยวและคงรูปได้ดี ในปัจจุบันได้รับความเชื่อถือทางการแพทย์ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด
โดยที่เซลล์กระดูกของมนุษย์สามารถมายึดเกาะกับรากเทียมได้เหมือนรากฟันธรรมชาติ ช่วยให้ฟันปลอมสามารถยึดเกาะได้ สามารถทำได้ทั้งชนิดให้ฟันปลอมติดแน่นและฟันปลอมถอดได้ โดยที่น้ำหนักจาการบดเคี้ยวจะถูกถ่ายทอดลงไปที่กระดูกขากรรไกรทำให้มีความรู้สึกเหมือนเคี้ยวด้วยฟันธรรมชาติ
ผู้ที่เหมาะสำหรับการใส่รากฟันเทียม
- ผู้ที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติซีใดซี่หนึ่ง หรือหลายซี่
- ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
- ผู้ที่มีปัญหาหรือจุดบกพร่องทางสุขภาพปาก อันเนื่องเกิดจากโรค การทำศัลยกรรม หรือได้รับบาดเจ็บทางปากและฟัน
รากเทียมประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ
1. รากเทียม (Fixture) ซึ่ง ทำมาจากโลหะไทเทเนียม ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร
2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) ทำเพื่อยึดครอบฟันให้ติดแน่นกับรากเทียม
3. ครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก โดยครอบฟันนั้นทำมาจากวัสดุเซรามิค(Porcelain) จะมีรูปร่างลักษณะ และสีสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ เป็นตัวรับเคี้ยว
ขั้นตอนการทำรากเทียม
ช่วงที่ 1 : ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
ช่วงที่ 2 (หลังจากฝังรากเทียม 3 เดือน) : ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
ข้อดี
1. ความสวยงามและประสิทธิภาพในการใช้งานใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
2. ไม่จำเป็นต้องมีการกรอเนื้อฟันข้างเคียง เมื่อเทียบกับการทำสะพานฟัน
3. รากเทียมมีการฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร จึงทำให้มีการคงสภาพของกระดูกขากรรไกร ให้เป็นธรรมชาติ
4. ใช้ได้สะดวกกว่าฟันปลอมถอดได้ ออกเสียงได้ชัดเจน เป็นธรรมชาติ
5. ในกรณีที่ทำเป็นฐานฟันปลอมชนิดถอดได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน และในการยึดติดของฟันปลอม
ข้อควรระวัง
ต้องได้รับการดูแล “รักษาความสะอาดให้ดี”
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาความสะอาดรากเทียมก็ เหมือนกับการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ ต้องแปรงฟันให้ถูกวิธีใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้กระดูกที่อยู่รอบๆรากเทียมเกิดการอักเสบ สุดท้ายรากเทียมจะโยกและหลุดในที่สุด เมื่อไปพบทันตแพทย์ต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบว่ามีรากเทียมซี่ใดอยู่ในปาก เพื่อที่ทันตแพทย์จะหลีกเลี่ยงไม่ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะไปขูดถูกรากเทียม ควรตรวจในช่วงหนึ่งเดือนแรก เดือนที่สาม และเดือนที่หก หลังจากปีแรกให้พบทันตแพทย์เป็นประจำปีละสองครั้ง
ค่าบริการ
50,000 – 70,000 บาท / ซี่ (ขึ้นอยู่กับเคสคนไข้แต่ละกรณี)
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodontic)
เด็ก ๆ ควรได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพฟัน รวมถึงเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ, เคลือบหลุมร่องฟัน กรณีฟันแท้ขึ้นแล้วมีร่องหลุมลึก ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย รวมถึงการถอนฟันน้ำนมออกเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในเวลาที่เหมาะสม ป้องกันฟันซ้อนเกในอนาคต ทั้งนี้ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กจะสร้างความคุ้นเคย และความประทับใจในการทำฟันให้เด็ก ๆ เพื่อให้ประสบการณ์ในการทำฟันของน้อง ๆ เป็นเรื่องสนุก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป
ทันตกรรมทั่วไป (อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน, ขัดฟัน)
การตรวจวินิฉัย การถ่ายเอกซเรย์ การให้คำปรึกษาพร้อมการวางแผนการรักษา
การตรวจวินิจฉัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับทันตกรรมสมัยใหม่ ช่วยในการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด
การอุดฟัน
การอุดฟัน เป็นการกรอบริเวณที่ผุออกแล้วจึงทำการอุดด้วยทันตวัสดุ เช่น วัสดุอมัลกัม วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน หรือ Inlays & Onlays
ขูดหินปูน
การขูดหินปูน เป็นวิธีการทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยกำจัดคราบหินปูนที่ติดบนผิวฟันซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ
การถอนฟัน
การ ถอนฟัน เป็นการเอา ตัวฟัน และ รากฟัน ออกมา ในกรณี มีฟันผุอย่างรุนแรง เป็นโรคปริทันต์ (โรคเกี่ยวกับเหงือก) ฟันที่อาจแตกจนไม่สามารถรักษาได้ ฟันที่จำเป็นต้องถอนเพราะมีการขึ้นที่ผิดตำแหน่ง เช่นฟันคุด ฟันที่ต้องถอนเนื่องจากการจัดฟัน การถอนฟัน โดยทั่วไปสามารถทำได้ง่าย หลังจากการถอนฟันแล้วเหงือกจะขึ้นคลุมบริเวณที่ถอนออกไป สามารถ ทดแทนฟันซี่นี้ได้ด้วยการทำสะพานฟัน, การทำรากเทียม หรือฟันปลอมถอดได้เพื่อป้องกันฟันล้มในอนาคต
การขัดฟัน
การขัดฟัน ด้วยผงขัดที่ผสมฟลูออไรด์ เพื่อกำจัดคราบอาหารหรือหลัง ขูดหินปูน ทำให้ผิวฟันเรียบรื่นยากที่ คราบอาหารหรือ หินปูนกลับมาติดอีกครั้ง
รักษารากฟัน (RCT):Root canal treatment
“รักษารากฟัน” คืออะไร?
การรักษารากฟัน คือ การพยายามรักษารากฟันธรรมชาติเอาไว้เพื่อให้สามารถบูรณะกลับมาใช้งานได้ต่อไป ฟันผุไม่ลึกบางซี่สามารถอุดฟันได้ แต่หากรอยผุลึกถึงเนื้อเยื่อข้างในตัวฟันจะทำให้เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันติดเชื้อ อักเสบลุกลามไปสู่ปลายรากฟันและถึงกระดูกรอบ รากฟันในที่สุดเชื้อโรคที่อยู่ในโพรงประสาทฟันและรากฟันจะเจริญเติบโตสร้างสารพิษออกมาทำลายกระดูกรอบรากฟัน ทำให้เกิดเป็นหนองปลายรากฟันเหงือกบวม หรืออาจจะถึงกับเป็นถุงน้ำของการติดเชื้อ (cyst) ที่ปลายรากฟันได้ หากไม่ถอนฟันเราก็จำเป็นต้องกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในโพรงประสาทฟันและรากฟันออกให้หมด โดยการ “รักษารากฟัน”เมื่อไม่มีเชื้อโรคแล้วกระดูกรอบรากฟันที่เคยถูกทำลายไปร่างกายก็จะสร้างกระดูกขึ้นมาซ่อมแซมได้เอง
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
1. เปิดเข้าโพรงประสาทฟันที่เสีย แล้วล้างทำความสะอาดโพรงประสาทฟันในตัวฟันและรากฟัน
2. ใส่ยากำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟัน 2-4 ครั้ง แล้วแต่พยาธิสภาพแต่ละกรณี
** (ถ้าต้องมีการพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้งจะมีการอุดชั่วคราวไปก่อน เพื่อป้องกันเชื่อโรคระหว่างรอการรักษาต่อไป) **
3. ทันตแพทย์จะประเมินการลดลงของเชื้อโรคในคลองรากฟันเมื่อพร้อมจะอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ( gutta-percha)
4. อุดตัวฟันด้วยวัสดุอุฟันถาวร หรือครอบฟันกรณีเหลือเนื้อฟันน้อย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรับแรงบดเคี้ยว และป้องกันการแตกหักในอนาคต
(**ฟันที่ไม่มีโพรงประสาทแล้วจะไม่มีเลือดมาเลี้ยงทำให้เนื้อฟันเปราะแตกง่ายกว่าฟันปรกติไม่ควรรับแรงมากและควรบูรณะฟันเพี่อเพิ่มความแข็งแรง)
ข้อดีของการรักษารากฟัน
- สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้โดยไม่ต้องถอนฟันซึ่งหมายถึงผู้ป่วยจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันเทียมทดแทนตำแหน่งฟันที่หายไป
- หลังการบูรณะฟันที่ได้รับการรักษารากแล้ว พบว่าประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิมมากกว่าการใส่ฟันเทียมทดแทน
- ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการใช้งานหลังการบูรณะฟันมากเท่ากับการใส่ฟันเทียมทดแทน
ข้อจำกัดของการรักษารากฟัน
ไม่สามารถทำได้ในฟันทุกซี ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในเรื่องวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อวางแผนการรักษาก่อนรับการรักษารากฟัน
การบูรณะฟันหลังการรักษาคลองรากฟัน
การบูรณะฟันหลังการรักษาคลองรากฟันนั้นสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุบูรณะฟันปกติ ในกรณีที่ฟันยังมีเนื้อเหลืออยู่ในปริมาณมาก หรืออาจต้องบูรณะด้วยการใช้เดือยฟัน/core และครอบฟันร่วมกันในกรณีที่เนื้อฟันที่เหลืออยู่ไม่มากพอ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ที่ทำการรักษา
ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษาคลองรากฟัน
- ในแต่ละครั้งหลังการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดได้โดยเฉลี่ยประมาณ1-3 วัน อาจใช้ยาบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นมากขึ้นควรกลับมาพบทันตแพทย์
- หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่กำลังรับการตรวจรักษารากฟัน กัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหากยังไม่ได้รับการบูรณะฟัน
- ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะตามคำแนะนำทันตแพทย์
- ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอจะทำให้ฟันที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันเสร็จสมบูรณ์แล้ว ใช้งานได้ยืนยาวมากขึ้น
ค่าบริการ
รักษารากฟัน ฟันหน้า : 5,000 บาท/ซี่
รักษารากฟัน ฟันกรามน้อย : 6,000-7,000 บาท/ซี่